Powered By Blogger
Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

การเก็บบันทึกเว็บเพจไว้เป็นไฟล์


***เราสามารถบันทึกเว็บเพจเก็บไว้เรียกดูภายหลังได้

โดยจัดเก็บเป็นไฟล์แบบ HTML เหมือนกับไฟล์เว็บเพจ

ต้นทางที่เจ้าของเว็บสร้างขึ้น ทำโดยการ save (บันทึก)

ทั้งตัวไฟล์ HTML ของเว็บเพจเองและไฟล์ของออบเจ็ค

ย่อย ๆนั้นให้ครบทุกชิ้นโดยจะ save ตัวไฟล์ HTML ไว้ใน

โฟลเดอร์ที่ระบุ และสร้างโฟลเดอร์ย่อยชื่อเดียวกันเพื่อ

เอาไว้เก็บรูปและส่วนประกอบย่อยของเว็บเพจนั้นไว้ข้างใน

พร้อมทั้งการแก้ไขการอ้างอิงในไฟล์ HTML นั้นให้ชี้ไปที่

โฟลเดอร์ย่อยนั้นด้วย

***วิธี save เว็บเพจและรูปภาพทำได้ดังนี้

1.คลิกที่เมนู File เลือก save As ขณะเปิดเว็บเพจที่ต้องการ

2.บนไดอะล็อกบ็อกซ์ จะมีคำ Save Web Page ให้คุณกำหนด

ค่าในช่องต่าง ๆ ดังนี้

++Save in เลือกไดรว์และโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บ

++File name ระบุชื่อเพจที่จะเก็บ

++Save as type เลือกชนิดการบันทึกว่าเป็นแบบ Web Page.

Complete(*.html.,*.html.) หรือ แบบอื่นเช่น

+1+Web Archive,Single file (*.mht) ข้อมูลทุกอย่างจะเก็บไว้ในไฟล์เดียว

+2+Web Page, HTML only (*.htm,*.html) เก็บเฉพาะไฟล์ HTML ไม่มีรูปประกอบ

+3+Text file (*.txt) บันทึกเฉพาะส่วนที่เป็นข้อความเท่านั้น

++Encoding เลือกภาษาที่ใช้ในเว็บเพจนั้น เช่น Thai

หรือ Western European(windows)แต่ปรกติจะเป็นไปตามภาษา

ที่กำหนดมาในเว็บเพจนั้น ๆ

3.จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Save

++โปรแกรมจะแสดงความคืบหน้าระหว่างที่ดึง

ข้อมูลมาบันทึกก็จะได้เว็บเพจที่ต้องการโดยเพจ

หลักจะเป็นไฟล์แบบ HTML 1 ไฟล์ในโฟลเดอร์

ที่ระบุส่วนรูปภาพและองค์ประกอบอื่น ๆ ของเว็บเพจ

จะเก็บลงในไฟลเดอร์ย่อยถัดลงไปในชื่อเดียวกับไฟล์

HTML นั้นโดยเติมคำว่า “...files”ให้

เมื่อต้องการดูเว็บเพจอีกครั้งก็ ดับเบิลคลิก(ที่ชื่อไฟล์

ที่ลงท้ายด้วย .html) ก็สามารถเรียกดูได้โดยทีต้องต่อ

เน็ตคือดูแบบ offline นั่นเอง

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ค่าความละเอียดของภาพ


***ในภาพติจิตอลจะประกอบด้วยจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ

ที่เราเรียกว่า ฟิกเซล (pixel) เรียงกัน ความละเอียด

ของภาพจะระบุเป็นจำนวนของฟิกเซลต่อนิ้ว หรือ

Pixel per inch (ppl) หรือ dot per inch (dpi) คือจะนับว่า

มีฟิกเซลกี่จุดในความกว้าง 1 ตารางนิ้ว ยิ่งค่า dpi

สูงมากเท่าไรจะทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดมากขึ้น

เท่านั้นเนื่องจากขนาดของฟิกเซลจะเล็กลง ภาพจึง

ดูละเอียดขึ้น และขนาดไฟล์ก็จะใหญ่ขึ้นด้วย เราจึง

ควรกำหนดหรือระบุความละเอียดของภาพให้เหมาะ

สมกับงานที่ใช้ เช่นถ้าจะใช้ภาพเพื่อทำเว็บก็อาจใช้

ภาพที่มีขนาดความละเอียด 72-96 dpi

แต่ถ้าจะนำไปใช้ในงานพิมพ์ก็จะอยู่ที่ประมาณ 300 dpi

***ในกล้องติจิตอลระดับ 2 ล้านฟิกเซลมีขนาดภาพ

1200x1600 ฟิกเซลจะมีความละเอียดเกินพอที่จะใช้

กับเว็บที่ 72 dpi แต่ถ้าจะนำมาใช้พิมพ์ที่ 300 dpi ให้ได้

คุณภาพ 100% จะได้ขนาดไม่เกิน 4x5.33 นิ้ว

หรือที่ 1200จุด/300 dpi และ 1600จุด/300 dpi

***แล้วพบกันใหม่นะครับเรื่องบางเรื่องรู้ไว้บ้างก็ดี

ครับอย่างน้อยก็คือเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรสวัสดีครับ

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

รูปภาพติจิตอลและประเภทของรูปภาพ

***รูปภาพทั้งหมดที่ใช้กับกล้องติจิตอลและสแกนเนอร์

จะเป็นแบบบิทแมพ (bit map) คือการเก็บภาพเป็นจุด ๆ

ยิ่งมีจุดมากความละเอียดของภาพก็จะยิ่งสูง และขนาด

ไฟล์ของภาพก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย

โดยทั่วไปมีรูปแบบไฟล์แตกต่างกันดังนี้

--ภาพแบบ BMP

เป็นไฟล์ประเภท bit map พื้นฐานในระบบ DOS

และ Windows ซึ่งนำไปใช้ในโปรแกรมอื่น ๆ

ได้เกือบทุกโปรแกรม

--ภาพประเภท TIFF

เป็นไฟล์รูปภาพที่เหมาะสำหรับ

เก็บรูปภาพความละเอียดสูงให้คงอยู่ครบถ้วน 100%

เช่น ภาพถ่าย,ภาพกราฟิกที่มีลวดลายสีสันที่ซับซ้อน

เพื่อใช้ในงานพิมพ์ ไฟล์ของภาพจะมีขนาดใหญ่ จึงไม่

เหมาะที่จะนำมาใช้งานกับพวกเว็บเพจ ภาพประเภท

TIFF ยังใช้ได้กับกล้องบางรุ่นเท่านั้น

--ภาพแบบ JPEG

เป็นฟอร์แมตที่เหมาะสำหรับใช้กับภาพถ่ายด้วยเช่นกัน

และในกล้องติจิตอลส่วนใหญ่มักบันทึกภาพด้วยในรูป

แบบนี้ เพราะไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดเล็กกว่าประเภท

TIFF เหตุมาจากกระบวนการบีบอัดไฟล์ทำได้หลาย

ระดับ แต่จะได้คุณภาพของภาพที่ด้วยกว่า

--ภาพแบบ GIF

เป็นภาพที่เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการทำ โลโก้ ,การ์ตูน,

และตัวอักษร ที่ไม่มีการใช้สีสันมาก หรือใช้สีทึบ ๆ เนื่องจาก

รูปภาพแบบนี้มีสีจำกับเพียง 256 สี ภาพประเภท GIF มักใช้

กับพวกเว็บเพจ

--ภาพแบบ PNG

เป็นรูปแบบใหม่ที่แยกเป็น 2 พวกคือ PNG-8 มีคุณสมบัติ

คล้าย GIF เหมาะกับภาพ โลโก้,การ์ตูน หรือลายเส้น

อีกพวกคือ PNG-24 จะมีคุณสมบัติคล้าย JPEG จึงเหมาะ

กับการเก็บภาพถ่าย แต่จะได้ไฟล์ที่ใหญ่กว่า JPEG เพราะ

วิธีบีบอัดข้อมูลที่ใช้จะไม่มีการเสียคุณภาพไปเหมือน

กับ JPEG

--ภาพแบบ RAW

เป็นไฟล์ภาพที่เป็น “ข้อมูลดิบ” ของภาพที่ได้จาก CCD

(ตัวรับแสง)ของกล้องโดยตรงและไม่มีการสูญเสียคุณภาพ

ของภาพเช่นเดียวกับ TIFF แต่จะมีขนาดเล็กกว่า และมี

ข้อเสียคือไฟล์แบบ RAWจะไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

เพราะต้องขึ้นอยู่กับกล้องแต่ละรุ่นหรือแต่ละยี่ห้อ

***ก็รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม นำมาฝากกันเล็กน้อย ๆ

เพื่อจะได้เข้าใจว่า ไฟล์ หรือ นามสกุล ให้ความหมาย

อะไรบ้างอย่างน้อยก็จะได้คุยได้บ้างว่าอะไรมาจากอะไร

แล้วจะนำมาฝากกันใหม่สวัสดีครับ

บทความที่ได้รับความนิยม