|
จะปิดได้ ส่วนการใช้คำสั่ง Shutdown ผมเคยเจอคำตอบว่า
It’s
now safe to turn off your computer ผมก็ใช้วิธีกดปุ่ม
Power ค้างไว้ก็ใช้ได้แล้ว คือไม่ถึงกับต้องใช้ไม้แข็งคือการ
ถอดปลั๊ก ไงก็ทำเป็นกรณีสุดท้ายจริง ๆ ก็แล้วกัน
|
เทคโนโลยี กับ คนไทย เทคโนโลยี ในทุกวันนี้พัฒนาไปไวแบบก้าวกระโดด ในทุกปีเราคนไทย จะได้เห็นเทคโนโลยี ที่ล้ำสมัย และใช้งานได้ง่ายมากขึ้น ได้เทคโนโลยี ที่อำนวยความสะดวกในทุก ๆ ที่ และกับความล้ำยุคของเทคโนโลยี จึง ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปมาก มาดูเทคโนโลยีแบบใหม่ ๆ กัน
|
จะปิดได้ ส่วนการใช้คำสั่ง Shutdown ผมเคยเจอคำตอบว่า
It’s
now safe to turn off your computer ผมก็ใช้วิธีกดปุ่ม
Power ค้างไว้ก็ใช้ได้แล้ว คือไม่ถึงกับต้องใช้ไม้แข็งคือการ
ถอดปลั๊ก ไงก็ทำเป็นกรณีสุดท้ายจริง ๆ ก็แล้วกัน
|
***เอาต์พุต (output) เป็นคำที่ได้ยินบ่อยแต่กับคอมพิวเตอร์
คำนี้ก็คือ อุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่แสดงผลการทำงานของคอมพิวเตอร์
ออกมาเพื่อให้เราได้รู้เช่น ภาพ หรือเสียงเป็นต้น อย่างเช่น
1.จอภาพ (Monitor) ก็เป็น เอาต์พุต (output) อย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่
สำหรับแสดงผลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาพ และภาพที่เกิดขึ้นก็ขึ้นกับ
จอภาพที่ดีด้วย เช่นเมื่อจอภาพดีจะทำให้ภาพออกมามีความคมชัด
สบายตา และมีอายุการทำงานที่นานด้วย
2.ลำโพง (Speaker) เป็น เอาต์พุต (output) ที่ทำหน้าที่แสดงเสียง
ให้เราได้ยินกัน ส่วนจะได้เสียงที่มีคุณภาพแค่ไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับ
ลำโพงที่เราใช้ว่ามีคุณภาพสูงหรือไม่เพียงใด
3.เครื่องพรินเตอร์ (Printer) นี่ก็เป็นเอาต์พุต (output)
อีกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่พิมพ์เอกสารต่าง ๆ และแม้แต่การพิมพ์
ภาพถ่ายต่าง ๆ ได้อีกด้วยปัจจุบันเครื่องพรินเตอร์มีคำสั่งมากมาย
ที่ในบ้างครั้งก็สามารถทำงานได้เลยโดยไม่ต้องเปิดคอมพิวเตอร์
เช่นงานถ่ายเอกสาร เป็นต้น
***ที่จริงคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายประเภทก็จะอยู่ที่ขนาดและการ
ใช้งานอย่างเช่น
1.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super computer) จะเป็นคอมพิวเตอร์
ที่มีขนาดใหญ่ และไม่ต้องพูดถึงขนาดของหน่วยความจำเพราะ
มีหน่วยความจำที่เยอะมากและมีความเร็วในการประมวลผลที่
สูงที่สุดอีกด้วย ส่วนมากจะใช้ในงานที่ใหญ่ ๆ เช่น การพยากรณ์
อากาศ เป็นต้น
2.คอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรม(Mainframe Computer) จะมีขนาด
รองลงมาจากตัวแรกจะใช้ในการทำงานในส่วนของพวกธนาคารเป็นต้น
3.มินิคอมพิวเตอร์(Mini Computer) คอมพิวเตอร์ชนิดนี้เน้นไปที่
การใช้งานแบบแชร์ข้อมูลส่วนกลาง คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ส่วนมา
จะใช้เกี่ยวกับงานในแบบงานอุตสาหกรรม หรือ ในส่วนของ
งานราชการเป็นต้น
4.ไมโครคอมพิวเตอร์(Micro Computer) หรือคอมพิวเตอร์ส่วน
บุคคล ก็จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันตามบ้านเรือน ก็เน้นในงาน
ด้านเอกสารเป็นหลัก
5.เวิร์คสเตชั่น(Workstation) คล้ายเครื่องแบบ PC แต่จะเพิ่ม
ความสามารในการออกแบบหรือเขียนแบบซึ่งจะใช้ในงานที่
เกี่ยวกับวิศวกรรมเป็นการใช้การคำนวณและประมวลผลทาง
ด้านกราฟฟิก
6.เน็ตท็อป(Net Top) เป็นรุ่นที่พัฒนาออกมาล่าสุดจากตัว PC
พกพาสะดวกเน้นที่การประหยัดพลังงานจะใช้ดูหนัง ฟังเพลง
หรือใช้กับชุด ออฟฟิศ มีความละเอียดสูง
7.แมคอินทอช(Macintosh) คุ้นหูมากเพราะสร้างจากบริษัท
แอปเปิล ใช้ในการสร้างออกแบบแก้ไขภาพและอาจใช้ในงาน
ออกแบบสิ่งพิมพ์
8.โน๊ตบุ๊ค(Notebook)เป็นเครื่อง PC เหมือนกันแต่พกพาได้
สะดวกทำงานได้หลากหลายและรวมถึงการนำเสนองาน
ต่อที่ประชุมได้สะดวกอีกด้วย
9.แท๊ปเล๊ตพีซี(Tabiet PC) เหมือนโน๊ตบุ๊คแต่จะเน้นใช้งานเกี่ยว
กับการนำเสนอผลงานต่อที่ประชุม
10.เน๊ตบุ๊ค(Netbook) เหมือนโน๊ตบุ๊คแต่จะมีขนาดและน้ำหนักที่
เล็กและเบา เป็นเพื่อนได้ในทุกที่ถ้าไม่เน้นงานด้านกราฟฟิค
11.คอมพิวเตอร์แบบมือถือ(Handheld Computer) ก็ใช้ดูหนัง
ฟังเพลง เล่นเกมส์ หรือจดบันทึก ส่งเมล เช็คเมล เป็นต้น
***อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายชนิด
เช่น ไดรว์ A;คือฟล็อบปี้ดิสก์ ส่วน Drive C: คือ ฮาร์ดดิสก์
ตัวแรก ส่วน Drive D: คือชีดีรอม เป็นต้น
***สำหรับกรณีของฮาร์ดดิสก์อาจแบ่งฮาร์ดดิสก์ 1 ตัวให้เป็น
หลาย ๆ ไดรว์ได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ 1 ตัวแต่ถูกแบ่งออกเป็น
Drive c: และ Drive D: โดยที่ชีดีรอมจะกำหนดให้เป็น
Drive E: แทน ส่วนไดรว์อีกแบบที่ windows รู้จักคือ ไดรว์
แบบพกพก ก็คือพวก Flash Drive หรือเราจะเรียกว่า
Handy drive หรือ Thumb drive ก็ได้เหมือนกัน
ส่วนประกอบของอุปกรณ์
1.ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ใช้ในการเก็บข้อมูลที่
มีความจุและความเร็วในการเข้าถึงส่วนใหญ่จะติดตั้งในเครื่อง
คอมพิวเตอร์ โดยจะใช้สำหรับเก็บตัวโปรแกรมทั้งของ
Windows เองและหรือโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ข้อมูลและยัง
เป็นที่พักชั่วคราวของข้อมูลในระหว่างการทำงาน
2.ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk Drive) เป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว
และยังมีความจำเป็นที่ต้องมีไว้ประจำทุกเครื่อง โดยมีจะมีไว้
เก็บข้อมูลเล็กน้อย หรือไว้ทำแผ่นบู๊ตไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
3.ซีดีรอม (CD-ROM) หรือCD Writer ตัวไดรว์ CD-ROM มี
ไว้เพื่อใช้อ่านแผ่นพวก ซีดีเพลง,CD-R,CD-RW และ VCD
ในไดรว์รุ่นใหม่จะมีการทำงานที่เร็วขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ เดี๋ยว
นี้นอกจากการอ่านแผ่นซีดีแล้ว เดี๋ยวนียังสามารถเขียนข้อมูล
ลงแผ่นได้อีกด้วย
4.ดีวีดีรอมไดรว์ (DVD-ROM Drive) หรือ DVD Writerไดรว์
DVD-ROMใช้อ่านแผ่น DVD และมีหน้าตาเมือนซีดีรอมทุกอย่าง
แต่สามารใช้อ่านได้ทั้ง CD และ DVD ได้และยังเขียนแผ่นได้
ทั้ง CD และ DVD ได้อีกด้วย
5.ไดรว์แบบพกพา (Removable Disk) เป็นไดรว์พิเศษที่เก็บช้อมูล
แบบพกพา เช่น Flash Dirve.Thum drive เป็นต้นโดยจะเสียบ
กับพอร์ต USB
***Mouse (เมาส์)เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เลือกคำสั่งบนเมนู
เช่นคลิกคำสั่ง เลือกข้อความเลื่อนปรับสิ่งต่าง ๆ บนหน้าจอได้
อย่างรวดเร็วสะดวกกว่าการใช้คีร์บอร์ด การทำงานของเมาส์
เราจะเห็นรูป รูปศรบนหน้าจอ เรียกว่า “เมาส์พอยเตอร์”ซึ่งจะ
เลื่อนไปยังทิศทางที่ลาก (เดี๋ยวนี้เมาส์อาจเป็นรูปอะไรก็ได้ที่เรา
ดาวน์โหลดมา)
***โดยทั่วไปเมาส์จะมี 2 ปุ่มและจะมีล้อเพื่อเลื่อนจอภาพขึ้น-ลง
หรือจะใช้ร่วมกับการกดปุ่มบนคีร์บอร์ดเพื่อย่อ-ขยายงานเอกสาร
บนจอก็ได้ และโดยมาจะใช้ปุ่ม ซ้ายเป็นหลัก ในส่วนของปุ่มขวา
จะเป็นการคลิกเพื่อเปิดเมนูคำสั่ง
***การกดปุ่มเมาส์โดยทั่วไปจะมี 5แบบ
1.คลิก (click) คือกด 1 ครั้งแล้วปล่อยมี 2 อย่างคือ
**1.1คลิกขณะลูกศรอยู่บนปุ่ม เป็นการ “กด” ที่ปุ่มบนจอเช่น ok
**1.2คลิกในช่องสำหรับป้อนข้อมูลโดยการวางตำแหน่งของเคอร์เซอร์
ในช่องคลิกแล้วพิมพ์ข้อความ
2.ดับเบิ้ลคลิก (double click) คือการคลิก 2 ครั้งติดต่อกันโดยเร็ว
ส่วนมากจะเป็นการเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่น โปรแกรม ไอคอน
3.ทริเบิ้ลคลิก (triple click) เป็นการคลิกติดต่อกัน 3 ครั้งจะไม่ค่อย
ได้ใช้บ่อยนักส่วนมากจะใช้ใน word เพื่อเป็นการเลือกข้อความทั้งหมดในไฟล์
4.คลิกแล้วลาก (drag-and-drop) คือการคลิกปุ่มซ้ายค้างไว้
แล้วลากเมาส์มี 2แบบ คือ
**4.1ใช้เลือกข้อความเฉพาะที่ต้องการ เช่นเพื่อพิมพ์ใหม่หรือใส่สีตัวอักษร
**4.2ใช้ย้ายหรือก็อปปี้สิ่งที่เลือกไว้โดยคลิกค้างไว้แล้วลากปล่อย
ในบริเวณที่เลือกไว้
5.คลิกขวา (right click) คือการกดปุ่มขวาของเมาส์ตรงสิ่งที่เลือก
เพื่อเรียก “เมนูลัด”(shortcut menu) ก็จะปรากฏเมนูคำสั่งที่
จะใช้กับสิ่งที่เลือกปรากฏขึ้นตรงบริเวณที่เราคลิกเมาส์ขวา